วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่6


22 กุมภาพันธ์ 2562




กิจกรรมที่1

นำเสนอ แผนผังความคิด เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อไว้ 3 หัวข้อ คือ กิจกรรม สื่อ และ เทคนิค

กิจกรรมทางคณิตศาสตร์
      กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล

สื่อคณิตศาสตร์
      สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อเด็กปฐมวัย
         1.   ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง และมีความหมายชัดเจน
         2.   เรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
         3.   เด็กปฐมวัยจำและประทับใจไม่ลืมง่าย
         4.   ช่วยให้เด็กปฐมวัยสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
         5.   ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
         6.   สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
         7.   ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น

เทคนิค
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือด้วยตนเองเท่านั้น
 2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
 3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่าง     ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น  ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ  มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือแม้แต่การใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น  ให้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มีขั้นตอน ดังนี้

1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่

เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังนี้

     1.1  ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น

     1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน

     1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด   

     1.4  ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ

2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก

3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ

4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม

5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น

     5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข

     5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ

     5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ

     5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน

     5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน

     5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ

     5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์ดังนั้น  หลักการจัดประสบการณ์ทาง

คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น  เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน

ตัวอย่างภาพในการนำเสนอ


กิจกรรมที่2

อาจารย์ได้แจกดินน้ำมันให้คนละ 1 ก้อน แล้วให้ปั้นเป็นรูปทรงเลขาคณิตมา 1 อย่าง โดยปั้นเป็นแบบ 2 มิติ จากนั้น อาจารย์ให้นำไม่จิ้มฟัน มาให้เราคิดต่อไปอีกอีกว่า จากสิ่งรูปที่เราปั้นมานั้น จะทำอย่างไร ให้เด็กมองภาพออกได้ชัดเจนมากขึ้นว่าสิ่งที่เราปั้นมาในตอนแรกนั้นเป็นรูปทรงเลขาคณิตชนิดใด

ภาพตัวอย่าง
คำศัพท์

1. Activities         กิจกกรม
2. Media              สื่อ
3. Technique        เทคนิค
4. Present            นำเสนอ
5. Name tag        ป้ายชื่อ
6. Sex                  เพศ
7. Compare         เปรียบเทียบ
8. Tale                 นิทาน
9. Survey            สำรวจ
10. Investigate    ตรวจสอบ

ประเมิน 
ตนเอง : ฉันตั้งใจฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์ได้ดี
เพื่อน  : ทุกคนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
อาจารย์ : สอนและอธิบายได้ดี มีแนะแนวทางเทคนิคในการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการจดจำ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น